- กระทู้ ผู้เขียน
- #1
ภายหลังจากที่ได้มีเริ่มบังคับใช้ใบสั่งแบบใหม่ ให้สามารถจ่ายค่าปรับผ่านธนาคาร หรือสถานีตำรวจได้แล้วนั้น ล่าสุด กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บชน.) จะเริ่มบังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำความผิดตามกฎหมายจราจร และไม่มาชำระค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนด ตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป พร้อมเปิดช่องทางให้ประชาชนสามารถตรวจสอบใบสั่งค้างจ่ายได้ง่ายๆ ผ่านเว็บไซต์ รายละเอียดจะเป็นอย่างไร
โดนใบสั่ง ไม่จ่ายค่าปรับ ส่งหมายจับถึงบ้าน
เนื่องจากที่ผ่านมามีผู้ที่กระทำความผิดตามกฎหมายจราจรแล้วไม่ไปชำระค่าปรับจำนวนมาก และยังคงมีพฤติการณ์ที่ฝ่าฝืนกฎหมายจราจรซ้ำ ๆ เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนและเกิดปัญหาการจราจรอย่างต่อเนื่อง กองบัญชาการตำรวจนครบาล จึงได้กำหนดมาตรการในการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อส่งเสริมให้ผู้ขับขี่มีวินัยจราจร ช่วยลดปัญหาอุบัติเหตุ และปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานคร เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
1. เจ้าพนักงานจราจรออกใบสั่งให้กับผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ทั้งแบบ 1. ความผิดซึ่งหน้า 2.ความผิดที่ตรวจจับด้วยกล้องตรวจจับการกระทำความผิด ระยะเวลาเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด โดยออกใบสั่งใน 3 รูปแบบ ได้แก่
• การเขียนใบสั่งเล่ม
• ใบสั่งจากภาพกล้องวงจรปิดส่งไปทางไปรษณีย์
• ใบสั่งจากเครื่อง E-TICKET
2. กรณีผู้กระทำความผิดไม่มาชำระค่าปรับ เมื่อพ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในใบสั่งแต่ละประเภท เจ้าพนักงานจราจรจะออกหนังสือแจ้งการไม่ปฏิบัติตามใบสั่ง (ใบเตือน) โดยจัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับภายใน 15 วัน นับแต่วันครบกำหนดชำระค่าปรับในใบสั่ง โดยให้ถือว่าเจ้าของ/ผู้ครอบครอง ได้รับแจ้งเมื่อพ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันส่ง และต้องชำระค่าปรับภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ซึ่งในขั้นตอนที่ 1. และ 2. ผู้กระทำความผิดสามารถเลือกชำระค่าปรับได้ที่
• สถานีตำรวจทุกสถานีทั่วประเทศ
• ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ของธนาคารกรุงไทย
• เคาน์เตอร์เซอร์วิสที่มีสัญลักษณ์ PTM
• ทางไปรษณีย์
3. กรณีพ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในใบเตือน และผู้กระทำความผิดยังไม่มาชำระค่าปรับ นอกจากการส่งข้อมูลไปยังกรมการขนส่งทางบกเพื่อดำเนินการตามมาตรการงดออกเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปีแล้ว พนักงานสอบสวนจะออกหมายเรียกผู้ต้องหาเพื่อให้มาชำระค่าปรับ หากไม่มาพบตามหมายเรียกทั้ง 2 ครั้ง พนักงานสอบสวนจะยื่นคำร้องขออนุมัติศาลในเขตพื้นที่เพื่อออกหมายจับ
4. กรณีถูกออกหมายเรียกหรือหมายจับ ผู้ต้องหาจะถูกแจ้งข้อกล่าวหา ตามข้อหาที่ผู้ต้องหากระทำผิดตามใบสั่ง และความผิดข้อหาตามมาตรา 155 “ผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม ม.141 (ชำระค่าปรับในเวลาที่กำหนดในใบสั่ง) โดยไม่มีเหตุอันสมควร ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ซึ่งในขั้นตอนนี้ผู้ต้องหาต้องเดินทางมาพบพนักงานสอบสวนด้วยตนเอง ณ สถานีตำรวจที่ออกหมายเรียก หมายจับ ไม่สามารถชำระผ่านช่องทางต่างๆ ตามข้อ 2 ได้
5. ผลของการถูกออกหมายจับในคดีอาญา เมื่อถูกออกหมายจับแล้ว จะถูกบันทึกในระบบฐานข้อมูลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
• เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมตัวบุคคลที่มีหมายจับได้ทั่วราชอาณาจักร โดยใช้เทคโนโลยีในการเชื่อมฐานข้อมูล
• หากบุคคลที่มีหมายจับเดินทางออกนอกประเทศจะถูกจับ และเกิดความยากลำบากในเรื่องการเดินทาง
• ถูกบันทึกในทะเบียนประวัติซึ่งอาจส่งผลต่อการประกอบอาชีพการทำงาน กรณีที่หน่วยงานสอบถามประวัติคดีอาญาว่าเป็นบุคคลที่มีหมายจับ
• เกิดความยากลำบากและความน่าเชื่อถือในการทำนิติกรรม
6. กรณีผู้ต้องหามาพบพนักงานสอบสวนด้วยตนเองหรือถูกจับกุม และยินยอมเปรียบเทียบปรับให้คดีอาญาเลิกกัน
7. ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าว สามารถตรวจสอบย้อนหลังใบสั่งที่ยังไม่หมดอายุความ (ระยะเวลา 1 ปี) โดยเน้นกรณีกระทำผิดซ้ำบ่อยครั้งก่อน
ใบสั่งหายตรวจสอบออนไลน์ได้แล้ว!
กรณีที่ใบสั่งหาย สามารถตรวจสอบออนไลน์ได้ ผ่านเว็บไซต์ ptm.police.go.th ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งวิธีตรวจสอบใบสั่งออนไลน์ มีดังนี้
1. ลงทะเบียนผู้ใช้งานเว็บไซต์ ptm.police.go.th โดยใช้หมายเลขบัตรประชาชน / หมายเลขใบขับขี่หรือหมายเลขทะเบียนรถ
2. ดำเนินการเข้าสู่ระบบด้วยหมายเลขบัตรประชาชน และรหัสผ่านที่ตั้งไว้
3. ค้นหาใบสั่งโดยระบุวันที่กระทำผิด จากนั้นกดปุ่ม “ค้นหา”
4. หน้าจอจะปรากฎรายการใบสั่งที่เคยได้รับ โดยสามารถคลิกดูรายละเอียดของใบสั่งแต่ละฉบับได้ (กรณีได้รับใบสั่งมากกว่า 1 คัน จะปรากฎรายการทั้งหมดภายใต้ชื่อผู้ครองครองคนเดียวกัน)
5. ดำเนินการชำระค่าปรับออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Krungthai NEXT หรือชำระที่สถานีตำรวจ, ธนาคารกรุงไทย, สาขาของไปรษณีย์ไทย, ตู้ ATM ธนาคารกรุงไทยหรือตู้บุญเติม
สามารถสอบถามข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร (บก.02) หมายเลขโทรศัพท์ 1197 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือทาง Facebook และ Twitter 1197
ช่วยดูแลความปลอดภัยให้คุณและรถ พร้อมอัตราเบี้ยพิเศษสำหรับผู้ขับขี่ที่มีโปรไฟล์ดี ประกันรถยนต์ตามโปรไฟล์ ..โปรไฟล์ยิ่งดี ความเสี่ยงยิ่งต่ำ เบี้ยยิ่งถูก.. โปรไฟล์คุณอาจดีกว่าที่คุณคิด เบี้ยเริ่มต้นเพียง 6,999 บาท ประกันประเภท 1 ซ่อมอู่ และยังถูกลงได้อีก หากเลือกแบบมีดีดัก และระบุชื่อผู้ขับขี่ (ลดสูงสุดเหลือเพียง 3,999 บาท) ผู้ที่มีโปรไฟล์ดี หรือความเสี่ยงน้อย เบี้ยประกันรถยนต์ก็จะยิ่งถูกตามไปด้วย สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/productmotordetail/20 หรือ https://smkinsurance.blogspot.com/ Line : @smkinsureance
โดนใบสั่ง ไม่จ่ายค่าปรับ ส่งหมายจับถึงบ้าน
เนื่องจากที่ผ่านมามีผู้ที่กระทำความผิดตามกฎหมายจราจรแล้วไม่ไปชำระค่าปรับจำนวนมาก และยังคงมีพฤติการณ์ที่ฝ่าฝืนกฎหมายจราจรซ้ำ ๆ เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนและเกิดปัญหาการจราจรอย่างต่อเนื่อง กองบัญชาการตำรวจนครบาล จึงได้กำหนดมาตรการในการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อส่งเสริมให้ผู้ขับขี่มีวินัยจราจร ช่วยลดปัญหาอุบัติเหตุ และปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานคร เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
1. เจ้าพนักงานจราจรออกใบสั่งให้กับผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ทั้งแบบ 1. ความผิดซึ่งหน้า 2.ความผิดที่ตรวจจับด้วยกล้องตรวจจับการกระทำความผิด ระยะเวลาเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด โดยออกใบสั่งใน 3 รูปแบบ ได้แก่
• การเขียนใบสั่งเล่ม
• ใบสั่งจากภาพกล้องวงจรปิดส่งไปทางไปรษณีย์
• ใบสั่งจากเครื่อง E-TICKET
2. กรณีผู้กระทำความผิดไม่มาชำระค่าปรับ เมื่อพ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในใบสั่งแต่ละประเภท เจ้าพนักงานจราจรจะออกหนังสือแจ้งการไม่ปฏิบัติตามใบสั่ง (ใบเตือน) โดยจัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับภายใน 15 วัน นับแต่วันครบกำหนดชำระค่าปรับในใบสั่ง โดยให้ถือว่าเจ้าของ/ผู้ครอบครอง ได้รับแจ้งเมื่อพ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันส่ง และต้องชำระค่าปรับภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ซึ่งในขั้นตอนที่ 1. และ 2. ผู้กระทำความผิดสามารถเลือกชำระค่าปรับได้ที่
• สถานีตำรวจทุกสถานีทั่วประเทศ
• ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ของธนาคารกรุงไทย
• เคาน์เตอร์เซอร์วิสที่มีสัญลักษณ์ PTM
• ทางไปรษณีย์
3. กรณีพ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในใบเตือน และผู้กระทำความผิดยังไม่มาชำระค่าปรับ นอกจากการส่งข้อมูลไปยังกรมการขนส่งทางบกเพื่อดำเนินการตามมาตรการงดออกเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปีแล้ว พนักงานสอบสวนจะออกหมายเรียกผู้ต้องหาเพื่อให้มาชำระค่าปรับ หากไม่มาพบตามหมายเรียกทั้ง 2 ครั้ง พนักงานสอบสวนจะยื่นคำร้องขออนุมัติศาลในเขตพื้นที่เพื่อออกหมายจับ
4. กรณีถูกออกหมายเรียกหรือหมายจับ ผู้ต้องหาจะถูกแจ้งข้อกล่าวหา ตามข้อหาที่ผู้ต้องหากระทำผิดตามใบสั่ง และความผิดข้อหาตามมาตรา 155 “ผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม ม.141 (ชำระค่าปรับในเวลาที่กำหนดในใบสั่ง) โดยไม่มีเหตุอันสมควร ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ซึ่งในขั้นตอนนี้ผู้ต้องหาต้องเดินทางมาพบพนักงานสอบสวนด้วยตนเอง ณ สถานีตำรวจที่ออกหมายเรียก หมายจับ ไม่สามารถชำระผ่านช่องทางต่างๆ ตามข้อ 2 ได้
5. ผลของการถูกออกหมายจับในคดีอาญา เมื่อถูกออกหมายจับแล้ว จะถูกบันทึกในระบบฐานข้อมูลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
• เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมตัวบุคคลที่มีหมายจับได้ทั่วราชอาณาจักร โดยใช้เทคโนโลยีในการเชื่อมฐานข้อมูล
• หากบุคคลที่มีหมายจับเดินทางออกนอกประเทศจะถูกจับ และเกิดความยากลำบากในเรื่องการเดินทาง
• ถูกบันทึกในทะเบียนประวัติซึ่งอาจส่งผลต่อการประกอบอาชีพการทำงาน กรณีที่หน่วยงานสอบถามประวัติคดีอาญาว่าเป็นบุคคลที่มีหมายจับ
• เกิดความยากลำบากและความน่าเชื่อถือในการทำนิติกรรม
6. กรณีผู้ต้องหามาพบพนักงานสอบสวนด้วยตนเองหรือถูกจับกุม และยินยอมเปรียบเทียบปรับให้คดีอาญาเลิกกัน
7. ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าว สามารถตรวจสอบย้อนหลังใบสั่งที่ยังไม่หมดอายุความ (ระยะเวลา 1 ปี) โดยเน้นกรณีกระทำผิดซ้ำบ่อยครั้งก่อน
ใบสั่งหายตรวจสอบออนไลน์ได้แล้ว!
กรณีที่ใบสั่งหาย สามารถตรวจสอบออนไลน์ได้ ผ่านเว็บไซต์ ptm.police.go.th ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งวิธีตรวจสอบใบสั่งออนไลน์ มีดังนี้
1. ลงทะเบียนผู้ใช้งานเว็บไซต์ ptm.police.go.th โดยใช้หมายเลขบัตรประชาชน / หมายเลขใบขับขี่หรือหมายเลขทะเบียนรถ
2. ดำเนินการเข้าสู่ระบบด้วยหมายเลขบัตรประชาชน และรหัสผ่านที่ตั้งไว้
3. ค้นหาใบสั่งโดยระบุวันที่กระทำผิด จากนั้นกดปุ่ม “ค้นหา”
4. หน้าจอจะปรากฎรายการใบสั่งที่เคยได้รับ โดยสามารถคลิกดูรายละเอียดของใบสั่งแต่ละฉบับได้ (กรณีได้รับใบสั่งมากกว่า 1 คัน จะปรากฎรายการทั้งหมดภายใต้ชื่อผู้ครองครองคนเดียวกัน)
5. ดำเนินการชำระค่าปรับออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Krungthai NEXT หรือชำระที่สถานีตำรวจ, ธนาคารกรุงไทย, สาขาของไปรษณีย์ไทย, ตู้ ATM ธนาคารกรุงไทยหรือตู้บุญเติม
สามารถสอบถามข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร (บก.02) หมายเลขโทรศัพท์ 1197 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือทาง Facebook และ Twitter 1197
ช่วยดูแลความปลอดภัยให้คุณและรถ พร้อมอัตราเบี้ยพิเศษสำหรับผู้ขับขี่ที่มีโปรไฟล์ดี ประกันรถยนต์ตามโปรไฟล์ ..โปรไฟล์ยิ่งดี ความเสี่ยงยิ่งต่ำ เบี้ยยิ่งถูก.. โปรไฟล์คุณอาจดีกว่าที่คุณคิด เบี้ยเริ่มต้นเพียง 6,999 บาท ประกันประเภท 1 ซ่อมอู่ และยังถูกลงได้อีก หากเลือกแบบมีดีดัก และระบุชื่อผู้ขับขี่ (ลดสูงสุดเหลือเพียง 3,999 บาท) ผู้ที่มีโปรไฟล์ดี หรือความเสี่ยงน้อย เบี้ยประกันรถยนต์ก็จะยิ่งถูกตามไปด้วย สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/productmotordetail/20 หรือ https://smkinsurance.blogspot.com/ Line : @smkinsureance