- กระทู้ ผู้เขียน
- #1
น้ำมันแพง!!! น้ำมันขึ้นราคา!!! ปัญหาปวดหัวที่คนใช้รถทุกคนต้องเจอในยุคโควิด 19 ในช่วงระยะเวลา 1-2 ปีมานี้ จนต้องหันมาเริ่มศึกษาข้อมูลการใช้พลังงานทางเลือกสำหรับรถยนต์เพื่อเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกของการเดินทาง (รถยนต์ไฟฟ้ามีกี่ประเภท? ประเภทรถไฟฟ้าแบบไหนที่เหมาะ? https://www.smk.co.th/newsdetail/2873) แต่ก็อาจสงสัยว่า แท้จริงแล้ว ที่ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น มีสาเหตุมาจากอะไร? แล้วต้องปฏิบัติตัวอย่างไรหากสถานการณ์ราคาน้ำมันรุนแรงขึ้น
จากสถิติราคาน้ำมันในช่วงไตรมาสแรกของ 2565 เปรียบเทียบกับราคาน้ำมันในช่วงไตรมาสแรกของปี 2564 พบว่า ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ และ ดีเซล มีการปรับขึ้นในราคาถึงลิตรละ 4-10 บาท ดังนี้
สาเหตุราคาน้ำมันแพงมาจากราคาน้ำมันดิบ
สาเหตุที่ทำให้ราคาน้ำมันแพงขึ้นมาจากปัจจัยภายนอกประเทศ นั่นก็คือ ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนทำสถิติการซื้อขายล่วงหน้าพุ่งสูงสุดไปแตะระดับ 139 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล สูงสุดในรอบ 14 ปีจากที่เคยทำไว้เมื่อปี 2551 ที่ 147 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ทำให้ประเทศไทยซึ่งเป็นผู้นำเข้าน้ำมันได้รับผลกระทบโดยตรงและต้องใช้น้ำมันราคาแพงตามไปด้วย
แม้ประเทศไทยจะสามารถขุดเจาะน้ำมันเพื่อใช้ในประเทศได้ แต่ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการทำให้จำเป็นต้องนำเข้าเป็นหลัก จากข้อมูลความต้องการน้ำมันดิบเฉลี่ยของปี 2564 พบว่า ประเทศไทยมีความต้องการใช้น้ำมันดิบเพื่อกลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูปอยู่ที่ 951,000 บาร์เรลต่อวัน ขณะที่ไทยมีกำลังการผลิตได้เพียง 100,000 บาร์เรลต่อวัน เท่านั้น
สาเหตุที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกสูงขึ้น
สาเหตุหลักที่ทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น มาจาก
เมื่อราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกแพงขึ้น หัวใจสำคัญของการแก้ปัญหา คือ การใช้กองทุนน้ำมันเป็นกลไกสำคัญเพื่อช่วยพยุงราคาไว้ ทำให้ราคาน้ำมันหน้าสถานีบริการในประเทศไม่สูงมากเกินไป หรือที่เรียกว่า “กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง” เป็นกลไกที่ช่วยลดผลกระทบให้กับประชาชน โดยเงินกองทุนจะจ่ายชดเชยราคาบางส่วนให้กับผู้ค้าน้ำมันเพื่อตรึงราคาน้ำมันไว้ เมื่อราคาน้ำมันตลาดโลกลดลงจนไม่ต้องชดเชยราคาขายปลีก เงินที่เคยจ่ายชดเชยก็จะถูกเก็บเข้ากองทุน ไว้ใช้รับมือกับภาวะน้ำมันแพงรอบใหม่
รับมืออย่างไร...ในวันที่น้ำมันแพง
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ด้วยการหันมาใช้พลังงานทางเลือก อาจช่วยลดการใช้พลังงานที่สิ้นเปลืองลงได้ และยังได้ช่วยรักสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น
จากสถิติราคาน้ำมันในช่วงไตรมาสแรกของ 2565 เปรียบเทียบกับราคาน้ำมันในช่วงไตรมาสแรกของปี 2564 พบว่า ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ และ ดีเซล มีการปรับขึ้นในราคาถึงลิตรละ 4-10 บาท ดังนี้
- แก๊สโซฮอล์ 95 ปรับขึ้นลิตรละ 10.10 บาท
- แก๊สโซฮอล์ 91 ปรับขึ้นลิตรละ 10.10 บาท
- แก๊สโซฮอล์ E20 ปรับขึ้นลิตรละ 10.50 บาท
- แก๊สโซฮอล์ E85 ปรับขึ้นลิตรละ 7.40 บาท
- ดีเซล B7 ปรับขึ้นลิตรละ 4.15 บาท
- ดีเซล B10 ปรับขึ้นลิตรละ 7.15 บาท
- ดีเซล B20 ปรับขึ้นลิตรละ 7.40 บาท
- ดีเซลพรีเมี่ยม ปรับขึ้นลิตรละ 5.70 บาท
สาเหตุราคาน้ำมันแพงมาจากราคาน้ำมันดิบ
สาเหตุที่ทำให้ราคาน้ำมันแพงขึ้นมาจากปัจจัยภายนอกประเทศ นั่นก็คือ ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนทำสถิติการซื้อขายล่วงหน้าพุ่งสูงสุดไปแตะระดับ 139 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล สูงสุดในรอบ 14 ปีจากที่เคยทำไว้เมื่อปี 2551 ที่ 147 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ทำให้ประเทศไทยซึ่งเป็นผู้นำเข้าน้ำมันได้รับผลกระทบโดยตรงและต้องใช้น้ำมันราคาแพงตามไปด้วย
แม้ประเทศไทยจะสามารถขุดเจาะน้ำมันเพื่อใช้ในประเทศได้ แต่ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการทำให้จำเป็นต้องนำเข้าเป็นหลัก จากข้อมูลความต้องการน้ำมันดิบเฉลี่ยของปี 2564 พบว่า ประเทศไทยมีความต้องการใช้น้ำมันดิบเพื่อกลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูปอยู่ที่ 951,000 บาร์เรลต่อวัน ขณะที่ไทยมีกำลังการผลิตได้เพียง 100,000 บาร์เรลต่อวัน เท่านั้น
สาเหตุที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกสูงขึ้น
สาเหตุหลักที่ทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น มาจาก
- ปัญหาจากกลุ่มประเทศโอเปกซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ได้ลดกำลังการผลิตน้ำมันลงถึง 10 ล้านบาร์เรลต่อวัน (ในปี 2020) ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำมันดิบ แต่ปัจจุบันกลุ่มโอเปกก็ได้มีการทยอยผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 400,000 บาร์เรลต่อวัน แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของโลก
- ปัญหาจากสถานการณ์โควิด 19 ที่ยืดเยื้อมานานกว่า 2 ปี ทำให้เศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกสะดุดลง แม้จะเริ่มกลับขึ้นมาฟื้นตัวในช่วงนี้ แต่ความต้องการบริโภคน้ำมันก็ยังสูงเกินกว่ากำลังการผลิต เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น
- ปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย - ยูเครน ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายสำคัญของโลก ผลกระทบจากสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนทำให้มีการออกมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจและการเงินต่อรัสเซียจากนานาประเทศ ปัญหาคอขวดของน้ำมันดิบจากเดิมที่เริ่มทุเลาลงบ้างจากสถานการณ์การระบาดของโควิด จึงกลับมาสร้างแรงกดดันให้ปัญหานี้รุนแรงและเรื้อรังนานขึ้น
เมื่อราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกแพงขึ้น หัวใจสำคัญของการแก้ปัญหา คือ การใช้กองทุนน้ำมันเป็นกลไกสำคัญเพื่อช่วยพยุงราคาไว้ ทำให้ราคาน้ำมันหน้าสถานีบริการในประเทศไม่สูงมากเกินไป หรือที่เรียกว่า “กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง” เป็นกลไกที่ช่วยลดผลกระทบให้กับประชาชน โดยเงินกองทุนจะจ่ายชดเชยราคาบางส่วนให้กับผู้ค้าน้ำมันเพื่อตรึงราคาน้ำมันไว้ เมื่อราคาน้ำมันตลาดโลกลดลงจนไม่ต้องชดเชยราคาขายปลีก เงินที่เคยจ่ายชดเชยก็จะถูกเก็บเข้ากองทุน ไว้ใช้รับมือกับภาวะน้ำมันแพงรอบใหม่
รับมืออย่างไร...ในวันที่น้ำมันแพง
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ด้วยการหันมาใช้พลังงานทางเลือก อาจช่วยลดการใช้พลังงานที่สิ้นเปลืองลงได้ และยังได้ช่วยรักสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น
- ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว หันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะ เช่น รถเมล์ รถแท็กซี่ หรือรถไฟฟ้า
- ตรวจเช็กสภาพรถยนต์ ลมยาง ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ
- ทางเดียวกันไปด้วยกัน แต่ต้องใส่หน้ากากอนามัย ลดความเสี่ยงโควิด
- ปั่นจักรยานแทนการใช้รถยนต์ ลดการใช้พลังงาน ลดมลพิษ รักษาสิ่งแวดล้อม
- เดินเท้าหรือขึ้นบันไดในระยะทางสั้นๆ ประหยัดพลังงาน ได้ออกกำลังกาย และสร้างสุขภาพที่ดี