- กระทู้ ผู้เขียน
- #1
“ผ้าเบรกรถยนต์” เป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำคัญที่คอยควบคุมการเคลื่อนที่ของรถยนต์ซึ่งผู้ขับขี่และเจ้าของรถต้องใส่ใจดูแลตรวจสอบให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ หากผ้าเบรกเสื่อมอายุ หรือที่ภาษาช่างเรียกว่า ผ้าเบรกหมด หรือ ผ้าเบรกสึก แล้วเจ้าของรถจะมีวิธีสังเกตผ้าเบรกรถยนต์อย่างไร? เมื่อไรจะถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนผ้าเบรกรถยนต์
หน้าที่ของผ้าเบรกรถยนต์
ผ้าเบรกรถยนต์ เป็นอุปกรณ์สร้างแรงเสียดทานให้กับล้อรถยนต์ ผ้าเบรกในอดีตจะมีส่วนผสมที่สำคัญคือ "แร่ใยหินแอสเบสตอส" ที่เมื่อเหยียบเบรกแล้วจะเกิดเป็นผงสีขาว ไม่ก่อให้เกิดเสียงรบกวน และมีราคาถูก แต่ข้อเสียคือผงฝุ่นสีขาวนี้สามารถเข้าไปฝังในร่างกายมนุษย์และก่อให้เกิดมะเร็งในปอด เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และทนความร้อนได้ต่ำจนเกิดอาการเบรกลื่นเมื่อใช้งานหนัก ในหลายประเทศจึงมีกฎหมายห้ามผลิต นำเข้า หรือใช้ผ้าเบรกที่มีส่วนผสมของ "แร่ใยหินแอสเบสตอส” ต่อมาจึงมีการพัฒนาผ้าเบรกที่มีส่วนผสมของแกรไฟต์และคาร์บอน เมื่อเบรกจะเกิดเป็นผงสีน้ำตาลหรือดำ สามารถทำงานได้ดีในความร้อนสูง (ตรวจสอบราคาผ้าเบรกรถยนต์ คลิก https://cockpit.co.th/shop/brake)
ประเภทของผ้าเบรกรถยนต์
ผ้าเบรกรถยนต์ ผลิตจากวัตถุดิบที่แตกต่างกันทั้งหมด 5 ประเภท ได้แก่
1. ผ้าเบรกที่ทำจาก ASBESTOS เป็นผ้าเบรกยุคเก่าที่ใช้แร่ใยหินเป็นองค์ประกอบหลัก เนื่องจากมีราคาถูก และให้แรงเสียดทานได้ดีที่อุณหภูมิต่ำ แต่มีอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจต่อสิ่งมีชีวิต
2. ผ้าเบรกที่ทำจาก NAO (NON-ASBESTOS ORGANIC) เป็นกลุ่มวัตถุดิบที่ใช้ใยสังเคราะห์แบบไม่ใช่โลหะ ลักษณะเด่นคือน้ำหนักเบา ง่ายต่อการควบคุมไม่ให้เกิดฝุ่นหรือเสียง และให้แรงเสียดทานสูง แต่จะมีข้อจำกัดคือ เป็นผ้าเบรกที่ต้องการส่วนผสมหลายชนิด ทนต่ออุณหภูมิที่เกิดจากการใช้งานได้ต่ำ คายความร้อนได้ยาก และที่สำคัญฝุ่นผงจากใยสังเคราะห์ของผ้าเบรกยังคงเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจอยู่บ้าง
3. ผ้าเบรกที่ทำจาก Semi-Metallic เป็นกลุ่มวัตถุดิบที่ใช้ใยเหล็ก มีความปลอดภัยสูงมากต่อระบบทางเดินหายใจ และมีความสามารถในการทนทานต่อการใช้งานในอุณหภูมิสูงได้ดี แต่ยังมีข้อจำกัดด้านการควบคุมไม่ให้เกิดเสียงดังและฝุ่น
4. ผ้าเบรกที่ทำจาก Fully Metallic หรือ Metallic เป็นกลุ่มวัตถุดิบที่ใช้ผงเหล็กละเอียดมาขึ้นรูป ซึ่งผงเหล็กที่ใช้จะเป็นผงเหล็กพิเศษ มีคุณสมบัติของแรงเสียดทานอยู่ในตัว ผ้าเบรกในกลุ่มนี้มีลักษณะพิเศษสามารถทนต่ออุณหภูมิการใช้งานที่สูงมากได้
5. ผ้าเบรกที่ทำจาก Advance Material เป็นผ้าเบรกที่ใชักลุ่มวัตถุดิบที่อยู่นอกเหนือจากที่ได้กล่าวไปแล้วโดยใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ที่มีคุณลักษณะพิเศษต่างๆตามความต้องการของผู้ใช้
จุดสังเกตเมื่อ “ผ้าเบรกหมด”
1. จานเบรกมีรอยขูดเป็นเส้น ๆ ไม่เรียบสม่ำเสมอ อาจมีสาเหตุจากเศษหินหรือเศษเหล็กเข้าไปฝังในเนื้อผ้าเบรก ทำให้เกิดการกินจาน หรือที่เรียกว่าผ้าเบรกกินจาน แก้ได้ด้วยการเปลี่ยนผ้าเบรกชุดใหม่ และเจียร์เปิดหน้าจานให้เรียบเช่นเดิม
2. เบรกมีอาการเสียงดัง เป็นกรณีที่พบได้มากที่สุด หากมีเสียงดังเอี๊ยดๆ เวลาเหยียบเบรกในตอนเช้า เมื่อวิ่งไปสักพักอาการจะหายไป หรือเกิดเสียงดังจี๊ดๆ ตอนแตะเบรก ซึ่งเป็นเสียงที่เกิดจากผ้าเบรกบางจนถึงตัวเตือนเบรก ต้องเปลี่ยนผ้าเบรกทันที และบางครั้งอาจมีเสียงดังครืดๆ เหมือนเสียงเหล็กสีกัน คือผ้าเบรกหมดจนเหลือแต่เหล็ก แนะนำให้ประคองรถเข้าอู่ทันที และอย่านำรถไปใช้เด็ดขาด เพราะอาจเกิดอันตราย และอาจเสียหายมากกว่าเดิม
3. ผ้าเบรกบาง สังเกตได้จากการเอาไฟส่องที่คาลิปเปอร์เบรก เพื่อดูความหนาของผ้าเบรก หากผ้าเบรกเหลือแค่เพียง 3 - 4 mm แนะนำให้รีบเข้าตรวจเช็กทันที (เพราะไม่สามารถมองเห็นผ้าเบรกด้านในได้)
4. เมื่อต้องยกเบรกมือให้สูงขึ้น จะมีสาเหตุมาจากเบรกหลังโดยตรง หากเบรกมือเริ่มจับไม่อยู่ หรือเริ่มยกสูงขึ้นเรื่อย ๆ แสดงว่าผ้าเบรกหลังเริ่มบาง
5. น้ำมันเบรกลดลง ตรวจสอบได้โดยการเปิดฝากระโปรงรถยนต์และมองหาที่ฝั่งคนขับ จะพบกระปุกที่ใกล้พวงมาลัยมากที่สุด หากน้ำมันเบรกลดลงจนถึงขีดต่ำสุด จะมีไฟเบรกมือโชว์เตือนติดค้างเป็นสีแดง แสดงว่า ผ้าเบรกกำลังเสื่อมสภาพ สึกหรอ หรือบาง ซึ่งเกิดจากสวิตช์ไฟในกระปุกน้ำมันไม่ต่อกัน จึงทำให้ไฟเบรกขึ้นค้างไว้ ควรเข้าศูนย์เพื่อตรวจเช็กทันที
6. เบรกจม คืออาการที่เมื่อเหยียบเบรกแล้วรู้สึกว่าต้องใช้แรงเหยียบเบรกให้จมลึกต่ำกว่าปกติ หรือเหยียบเบรกค้างไว้แล้วแป้นเบรกค่อยๆ ลดต่ำลงเอง แสดงว่าผ้าเบรกเริ่มบางลงจนอาจเป็นอันตรายได้
เมื่อเปลี่ยนผ้าเบรกแล้ว ในช่วงแรกไม่ควรขับรถยนต์ด้วยความเร็วสูงหรือขับตามคันหน้าอย่างกระชั้นชิด เนื่องจากต้องให้ผ้าเบรกมีการปรับหน้าสัมผัสให้เข้ากับจานเบรกสักระยะหนึ่งก่อน อาจทำให้เบรกได้ไม่ดีเท่าที่ควร หรืออาจเบรกไม่ค่อยอยู่ ควรให้ผ้าเบรกปรับตัวเข้ากับจานเบรกอย่างช้า ๆ ผ้าเบรกจึงจะมีประสิทธิภาพสูงสุดตลอดอายุการใช้งาน (วิธีถนอมผ้าเบรกแบบง่ายๆ ยืดอายุการใช้งาน ที่คนใช้รถควรรู้ คลิก https://www.smk.co.th/newsdetail/1622)
ประกันรถยนต์ตามโปรไฟล์ "การันตีถูกจริง" ประกันรถยนต์ชั้น 1 ..โปรไฟล์ยิ่งดี ความเสี่ยงยิ่งต่ำ เบี้ยยิ่งถูก.. โปรไฟล์คุณอาจดีกว่าที่คุณคิด เบี้ยเริ่มต้น 6,999 บาท และยังถูกลงได้อีก หากเลือกแบบมีดีดัก และระบุชื่อผู้ขับขี่ (ลดสูงสุดเหลือเพียง 3,999 บาท) สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/productmotordetail/20 หรือ โทร.1596 Line : @smkinsurance
หน้าที่ของผ้าเบรกรถยนต์
ผ้าเบรกรถยนต์ เป็นอุปกรณ์สร้างแรงเสียดทานให้กับล้อรถยนต์ ผ้าเบรกในอดีตจะมีส่วนผสมที่สำคัญคือ "แร่ใยหินแอสเบสตอส" ที่เมื่อเหยียบเบรกแล้วจะเกิดเป็นผงสีขาว ไม่ก่อให้เกิดเสียงรบกวน และมีราคาถูก แต่ข้อเสียคือผงฝุ่นสีขาวนี้สามารถเข้าไปฝังในร่างกายมนุษย์และก่อให้เกิดมะเร็งในปอด เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และทนความร้อนได้ต่ำจนเกิดอาการเบรกลื่นเมื่อใช้งานหนัก ในหลายประเทศจึงมีกฎหมายห้ามผลิต นำเข้า หรือใช้ผ้าเบรกที่มีส่วนผสมของ "แร่ใยหินแอสเบสตอส” ต่อมาจึงมีการพัฒนาผ้าเบรกที่มีส่วนผสมของแกรไฟต์และคาร์บอน เมื่อเบรกจะเกิดเป็นผงสีน้ำตาลหรือดำ สามารถทำงานได้ดีในความร้อนสูง (ตรวจสอบราคาผ้าเบรกรถยนต์ คลิก https://cockpit.co.th/shop/brake)
ประเภทของผ้าเบรกรถยนต์
ผ้าเบรกรถยนต์ ผลิตจากวัตถุดิบที่แตกต่างกันทั้งหมด 5 ประเภท ได้แก่
1. ผ้าเบรกที่ทำจาก ASBESTOS เป็นผ้าเบรกยุคเก่าที่ใช้แร่ใยหินเป็นองค์ประกอบหลัก เนื่องจากมีราคาถูก และให้แรงเสียดทานได้ดีที่อุณหภูมิต่ำ แต่มีอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจต่อสิ่งมีชีวิต
2. ผ้าเบรกที่ทำจาก NAO (NON-ASBESTOS ORGANIC) เป็นกลุ่มวัตถุดิบที่ใช้ใยสังเคราะห์แบบไม่ใช่โลหะ ลักษณะเด่นคือน้ำหนักเบา ง่ายต่อการควบคุมไม่ให้เกิดฝุ่นหรือเสียง และให้แรงเสียดทานสูง แต่จะมีข้อจำกัดคือ เป็นผ้าเบรกที่ต้องการส่วนผสมหลายชนิด ทนต่ออุณหภูมิที่เกิดจากการใช้งานได้ต่ำ คายความร้อนได้ยาก และที่สำคัญฝุ่นผงจากใยสังเคราะห์ของผ้าเบรกยังคงเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจอยู่บ้าง
3. ผ้าเบรกที่ทำจาก Semi-Metallic เป็นกลุ่มวัตถุดิบที่ใช้ใยเหล็ก มีความปลอดภัยสูงมากต่อระบบทางเดินหายใจ และมีความสามารถในการทนทานต่อการใช้งานในอุณหภูมิสูงได้ดี แต่ยังมีข้อจำกัดด้านการควบคุมไม่ให้เกิดเสียงดังและฝุ่น
4. ผ้าเบรกที่ทำจาก Fully Metallic หรือ Metallic เป็นกลุ่มวัตถุดิบที่ใช้ผงเหล็กละเอียดมาขึ้นรูป ซึ่งผงเหล็กที่ใช้จะเป็นผงเหล็กพิเศษ มีคุณสมบัติของแรงเสียดทานอยู่ในตัว ผ้าเบรกในกลุ่มนี้มีลักษณะพิเศษสามารถทนต่ออุณหภูมิการใช้งานที่สูงมากได้
5. ผ้าเบรกที่ทำจาก Advance Material เป็นผ้าเบรกที่ใชักลุ่มวัตถุดิบที่อยู่นอกเหนือจากที่ได้กล่าวไปแล้วโดยใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ที่มีคุณลักษณะพิเศษต่างๆตามความต้องการของผู้ใช้
จุดสังเกตเมื่อ “ผ้าเบรกหมด”
1. จานเบรกมีรอยขูดเป็นเส้น ๆ ไม่เรียบสม่ำเสมอ อาจมีสาเหตุจากเศษหินหรือเศษเหล็กเข้าไปฝังในเนื้อผ้าเบรก ทำให้เกิดการกินจาน หรือที่เรียกว่าผ้าเบรกกินจาน แก้ได้ด้วยการเปลี่ยนผ้าเบรกชุดใหม่ และเจียร์เปิดหน้าจานให้เรียบเช่นเดิม
2. เบรกมีอาการเสียงดัง เป็นกรณีที่พบได้มากที่สุด หากมีเสียงดังเอี๊ยดๆ เวลาเหยียบเบรกในตอนเช้า เมื่อวิ่งไปสักพักอาการจะหายไป หรือเกิดเสียงดังจี๊ดๆ ตอนแตะเบรก ซึ่งเป็นเสียงที่เกิดจากผ้าเบรกบางจนถึงตัวเตือนเบรก ต้องเปลี่ยนผ้าเบรกทันที และบางครั้งอาจมีเสียงดังครืดๆ เหมือนเสียงเหล็กสีกัน คือผ้าเบรกหมดจนเหลือแต่เหล็ก แนะนำให้ประคองรถเข้าอู่ทันที และอย่านำรถไปใช้เด็ดขาด เพราะอาจเกิดอันตราย และอาจเสียหายมากกว่าเดิม
3. ผ้าเบรกบาง สังเกตได้จากการเอาไฟส่องที่คาลิปเปอร์เบรก เพื่อดูความหนาของผ้าเบรก หากผ้าเบรกเหลือแค่เพียง 3 - 4 mm แนะนำให้รีบเข้าตรวจเช็กทันที (เพราะไม่สามารถมองเห็นผ้าเบรกด้านในได้)
4. เมื่อต้องยกเบรกมือให้สูงขึ้น จะมีสาเหตุมาจากเบรกหลังโดยตรง หากเบรกมือเริ่มจับไม่อยู่ หรือเริ่มยกสูงขึ้นเรื่อย ๆ แสดงว่าผ้าเบรกหลังเริ่มบาง
5. น้ำมันเบรกลดลง ตรวจสอบได้โดยการเปิดฝากระโปรงรถยนต์และมองหาที่ฝั่งคนขับ จะพบกระปุกที่ใกล้พวงมาลัยมากที่สุด หากน้ำมันเบรกลดลงจนถึงขีดต่ำสุด จะมีไฟเบรกมือโชว์เตือนติดค้างเป็นสีแดง แสดงว่า ผ้าเบรกกำลังเสื่อมสภาพ สึกหรอ หรือบาง ซึ่งเกิดจากสวิตช์ไฟในกระปุกน้ำมันไม่ต่อกัน จึงทำให้ไฟเบรกขึ้นค้างไว้ ควรเข้าศูนย์เพื่อตรวจเช็กทันที
6. เบรกจม คืออาการที่เมื่อเหยียบเบรกแล้วรู้สึกว่าต้องใช้แรงเหยียบเบรกให้จมลึกต่ำกว่าปกติ หรือเหยียบเบรกค้างไว้แล้วแป้นเบรกค่อยๆ ลดต่ำลงเอง แสดงว่าผ้าเบรกเริ่มบางลงจนอาจเป็นอันตรายได้
เมื่อเปลี่ยนผ้าเบรกแล้ว ในช่วงแรกไม่ควรขับรถยนต์ด้วยความเร็วสูงหรือขับตามคันหน้าอย่างกระชั้นชิด เนื่องจากต้องให้ผ้าเบรกมีการปรับหน้าสัมผัสให้เข้ากับจานเบรกสักระยะหนึ่งก่อน อาจทำให้เบรกได้ไม่ดีเท่าที่ควร หรืออาจเบรกไม่ค่อยอยู่ ควรให้ผ้าเบรกปรับตัวเข้ากับจานเบรกอย่างช้า ๆ ผ้าเบรกจึงจะมีประสิทธิภาพสูงสุดตลอดอายุการใช้งาน (วิธีถนอมผ้าเบรกแบบง่ายๆ ยืดอายุการใช้งาน ที่คนใช้รถควรรู้ คลิก https://www.smk.co.th/newsdetail/1622)
ประกันรถยนต์ตามโปรไฟล์ "การันตีถูกจริง" ประกันรถยนต์ชั้น 1 ..โปรไฟล์ยิ่งดี ความเสี่ยงยิ่งต่ำ เบี้ยยิ่งถูก.. โปรไฟล์คุณอาจดีกว่าที่คุณคิด เบี้ยเริ่มต้น 6,999 บาท และยังถูกลงได้อีก หากเลือกแบบมีดีดัก และระบุชื่อผู้ขับขี่ (ลดสูงสุดเหลือเพียง 3,999 บาท) สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/productmotordetail/20 หรือ โทร.1596 Line : @smkinsurance