- เข้าร่วม
- 12 ก.ย. 2013
- ข้อความ
- 103
- กระทู้ ผู้เขียน
- #1
เดลิเมล์ - มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊ก กำลังเผชิญการโหวตเรียกร้องให้เขาลงจากตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร ณ ที่ประชุมประจำปีผู้ถือหุ้นของบริษัทในวันพฤหัสบดี(30พ.ค.) อย่างไรก็ตามคาดหมายว่าคงเป็นเรื่องยาก เนื่องจากเขากุมคะแนนโหวตส่วนใหญ่
การโหวตครั้งนี้มีขึ้นหลังจากมีเสียงเรียกร้องอย่างกว้างขวางให้ซีอีโอรายนี้ลงจากเก้าอี้ประธานกรรมการบริหาร เพื่อแต่งตั้งคนใหม่มาทำหน้าที่แทน หลังจากบริษัทเกิดเรื่องอื้อฉาวรุนแรงหลายครั้ง อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวคงไม่ผ่านความเห็นชอบหากปราศจากข้อตกลงกับ ซัคเคอร์เบิร์ก เนื่องจากเขาควบคุมคะแนนโหวตไว้ราว 58%
รายงานข่าวระบุว่าการโหวตจะมีขึ้นระหว่างการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีของเฟซบุ๊ก ในวันพฤหัสบดี(30พ.ค.) ที่โรงแรมเนีย ในเมนโลพาร์ค รัฐแคลิฟอร์เนีย ด้วยผู้ถือหุ้นบางส่วนของบริษัทต้องการเห็น ซัคเคอร์เบิร์ก ลงจากตำแหน่งประธานกรรมการบริหารแล้วตั้งคนอื่นมาทำหน้าที่แทน เพื่อเขาจะสามารถหันไปมุ่งเน้นบริหารบริษัทสื่อสังคมออนไลน์แห่งนี้ในภาพรวม
ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นหลังจากก่อนหน้านี้เมื่อเดือนตุลาคมปีก่อน กองทุนสาธารณะรายใหญ่ 4 แห่ง ซึ่งถือหุ้นอยู่ในเฟซบุ๊ก อิงค์ ได้ยื่นข้อเสนอปลด ซัคเคอร์เบิร์ก พ้นประธานกรรมการบริหาร หลังบริษัทเกิดเรื่องอื้อฉาวหลายครั้ง
เนื้อหาในข้อเรียกร้องดังกล่าวอ้างถึงเรื่องขัดแย้งต่างๆที่ส่งผลเสียต่อชื่อเสียงของบริษัทในฐานะเครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์รายใหญ่ที่สุดของโลก รวมถึงการแชร์ข้อมูลผู้ใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาต การแพร่กระจายข่าวปลอมและการแทรกแซงจากต่างประเทศในศึกเลือกตั้งสหรัฐฯ
เมื่อปี 2017 พวกผู้ถือหุ้นเคยยื่นข้อเสนอโหวตในทำนองเดียวกันมาแล้วแต่ก็ล้มเหลว ทำให้การหาทางออกดังกล่าวได้ผลแค่ในเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น
ในคราวนี้ก็เช่นกัน การลงมติไม่ไว้วางใจใดๆต่อตัวของซัคเคอร์เบิร์ก ดูเหมือนจะไม่ผ่านความเห็นชอบ เนื่องจากในฐานะซีอีโอของเฟซบุ๊ก ซัคเคอร์เบิร์ก ครองอำนาจการโหวตของผู้ถือหุ้นไว้เกือบ 60% ฉะนั้น ซัคเคอร์เบิร์ก จึงไม่มีทางถูกปลดจากตำแหน่งหน้าที่โดยไม่ได้ตั้งใจ จนกว่าเขาจะยอมขายหุ้นที่เขาถือครองในปัจจุบันในสัดส่วนที่มีนัยสำคัญ
แม้ปัจจุบัน ซัคเคอร์เบิร์ก เป็นผู้ถือหุ้นส่วนน้อยของหุ้นโดยรวมของเฟซบุ๊ก แต่โครงสร้างการโหวตแบบสองระดับของบริษัทได้มอบอำนาจแก่ผู้ลงทุนแรกเริ่มเหนือกว่าพวกนักลงทุนที่มาทีหลังราวๆ 10 เท่า
นอร์ทสตาร์ แอสเซท แมนเนจเมนต์ และ ทริลเลียม แอสเซท แมนเนจเมนต์ 2 ผู้ถือหุ้นเฟซบุ๊ก แสดงความหวังอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงในระบบลงคะแนนโหวตและ ซัคเคอร์เบิร์ก ลาออกจากตำแหน่ง