- กระทู้ ผู้เขียน
- #1
อาการปวดหัวเกิดได้จากหลายสาเหตด้วยกัน แค่คุณพักผ่อนไม่เพียงพอ นอนหลับไม่เต็มอิ่ม หรือมีความเครียดมาก ๆ ก็ทำให้ปวดหัวได้เช่นกัน แก้ได้โดยเพียงแค่พักผ่อนให้เพียงพอ และหากิจกรรมทำเพื่อช่วยให้ผ่อนคลายเสียหน่อย อาการปวดหัวจากความเครียดก็จะหายไปเอง แต่หากคุณมีอาการปวดหัวบ่อย ๆ ปวดหัวเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหต ทำอย่างไรก็ไม่หาย อาจกำลังมีความกังวลใจ เพราะเริ่มมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หากใครที่เป็นเช่นนี้เราไม่อยากให้นิ่งนอนใจ เพราะรู้หรือไม่? หากคุณมีอาการปวดหัวบ่อย ปวดหัวเรื้อรัง เห็นภาพซ้อน เสี่ยง!! เป็นเนื้องอกในสมองได้เลยนะ วันนี้เรานำความรู้ดี ๆ จากทางศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลนครธน เกี่ยวกับเนื้องอกในสมองอาการเป็นอย่างไร และมีแนวทางวิธีรักษาเนื้องอกในสมองอย่างไรบ้าง มาฝากกัน ลองไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมกันได้เลยค่ะ
เนื้องอกในสมองเป็นอย่างไร?
เนื้องอกในสมอง (Brain Tumor) เป็นโรคที่เกิดจากเนื้อเยื่อในสมอง หรือเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียงสมองมีการเจริญเติบโตผิดปกติจนมีผลต่อระบบสมอง และระบบประสาททำให้ร่างกายมีอาการต่าง ๆ ตามมา ซึ่งเนื้องอกที่เจริญผิดปกตินั้นจะไปเบียดเนื้อสมอง และกระทบต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายที่มีสมองเป็นตัวควบคุม โดยเนื้องอกที่เกิดขึ้นในสมองอาจไม่ใช่มะเร็งเสมอไป โรคเนื้องอกสมองได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่
ปัจจัยเสี่ยงของเนื้องอกในสมอง
สาเหตุที่ทำให้เกิดเนื้องอกในสมองยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด อย่างไรก็ตามมีปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดเนื้องอกในสมอง ดังนี้
อาการแบบไหนเสี่ยง เนื้องอกในสมอง
อาการของเนื้องอกในสมองขึ้นอยู่กับตำแหน่ง ชนิด และขนาดของเนื้องอก บางคนอาจไม่แสดงอาการใด ๆ และพบว่าเป็นเนื้องอกหลังเข้ารับการตรวจร่างกาย หากมีอาการต่อไปนี้ควรพบแพทย์ทันที
ทราบอย่างไรว่าเป็น เนื้องอกในสมอง?
เบื้องต้นแพทย์จะทำการตรวจร่างกาย และทำการทดสอบทางประสาทวิทยาก่อน เช่น ตรวจการมองเห็น การได้ยิน การทรงตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและปฏิกิริยาตอบสนองทางร่างกาย
หากพบอาการป่วยที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยโรคหรือสาเหตุอย่างอื่น แพทย์อาจส่งตรวจหาเนื้องอกในสมองด้วยการสแกนสมอง ซึ่งเป็นการฉายภาพรังสีให้เห็นสมองและพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ภายใน เช่น การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) เครื่องตรวจวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือเครื่องถ่ายภาพรังสี PET scan หากตรวจพบว่ามีเนื้องอกในสมอง แพทย์อาจส่งตรวจอวัยวะอื่น ๆ ร่วมด้วย เพื่อหาตำแหน่งของเซลล์มะเร็งที่อาจแพร่ลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ ต่อไปได้
นอกจากนี้ อาจทำการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจวินิจฉัย (Biopsy) หาความผิดปกติของเนื้อเยื่อว่าเป็นเนื้องอกที่อยู่ในขั้นและระดับความรุนแรงใด เป็นเนื้อร้ายหรือไม่ เพื่อวางแผนการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป
วิธีรักษาเนื้องอกในสมอง
แพทย์จะรักษาให้เหมาะกับสภาพการณ์ของผู้ป่วยแต่ละราย หากสภาพของผู้ป่วยไม่ร้ายแรง โอกาสที่จะหายมีสูงและความเสี่ยงที่ต้องผ่าตัดมีต่ำ โดยวิธีการโรคเนื้องอกในสมอง มีดังนี้
ภาวะแทรกซ้อนของเนื้องอกในสมอง
สมองเป็นอวัยวะที่สำคัญ อาการแทรกซ้อนของเนื้องอกในสมอง อาจส่งผลร้ายแรงหรือความเสียหายถาวรที่นำไปสู่ความพิการทางร่างกาย โคม่า หรือแม้กระทั่งเสียชีวิต โดยมีอาการแทรกซ้อน ได้แก่
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nakornthon.com/article/detail/เนื้องอกในสมองภัยร้ายที่มาพร้อมอาการปวดหัวเรื้อรัง
เนื้องอกในสมองเป็นอย่างไร?
เนื้องอกในสมอง (Brain Tumor) เป็นโรคที่เกิดจากเนื้อเยื่อในสมอง หรือเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียงสมองมีการเจริญเติบโตผิดปกติจนมีผลต่อระบบสมอง และระบบประสาททำให้ร่างกายมีอาการต่าง ๆ ตามมา ซึ่งเนื้องอกที่เจริญผิดปกตินั้นจะไปเบียดเนื้อสมอง และกระทบต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายที่มีสมองเป็นตัวควบคุม โดยเนื้องอกที่เกิดขึ้นในสมองอาจไม่ใช่มะเร็งเสมอไป โรคเนื้องอกสมองได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่
- เนื้องอกในสมองชนิดไม่ร้ายแรง หรือ เป็นเนื้องอกแบบเนื้อธรรมดา เกิดจากความผิดปกติของสารพันธุกรรมในเซลล์สมอง หรือการกลายพันธุ์ของเซลล์ ทำให้เซลล์มีการแบ่งตัวและเจริญเติบโตในอัตราที่ผิดปกติ ก้อนเนื้องอกมีการเจริญเติบโตช้า ไม่ใช่เซลล์มะเร็ง สามารถรักษาให้หายได้
- เนื้องอกในสมองชนิดร้ายแรงหรือมะเร็ง เกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ คือ เซลล์มะเร็ง อาจเกิดขึ้นบริเวณสมอง หรือเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นที่อวัยวะอื่นแล้วลามเข้าสู่สมอง จะมีอัตราการเติบโตเร็วและอาจลุกลามหรือกดทับเนื้อเยื่อรอบข้าง ส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมองและเป็นอันตรายต่อชีวิต
ปัจจัยเสี่ยงของเนื้องอกในสมอง
สาเหตุที่ทำให้เกิดเนื้องอกในสมองยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด อย่างไรก็ตามมีปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดเนื้องอกในสมอง ดังนี้
- อายุ เนื้องอกในสมองเกิดได้กับคนทุกวัย แต่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดกับคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป
- เพศ เนื้องอกในสมองเกิดกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
- การสัมผัสกับกัมมันตรังสีหรือสารเคมีบางชนิดในที่ทำงาน
อาการแบบไหนเสี่ยง เนื้องอกในสมอง
อาการของเนื้องอกในสมองขึ้นอยู่กับตำแหน่ง ชนิด และขนาดของเนื้องอก บางคนอาจไม่แสดงอาการใด ๆ และพบว่าเป็นเนื้องอกหลังเข้ารับการตรวจร่างกาย หากมีอาการต่อไปนี้ควรพบแพทย์ทันที
- ปวดหัวเรื้อรัง มีอาการปวดหัวมากกว่า 15 วันต่อเดือน อย่างน้อย 3 เดือนติดต่อกัน
- คลื่นไส้หรืออาเจียน โดยเฉพาะการอาเจียนในตอนเช้า
- ค่อยๆ สูญเสียความรู้สึกหรือการเคลื่อนไหวแขนหรือขา ชา อัมพาตบางส่วน
- ปัญหาในการทรงตัวหรือเดิน
- สับสน สูญเสียความทรงจำ หรือบุคลิกภาพเปลี่ยนไป
- หูอื้อ วิงเวียน
- กล้ามเนื้อใบหน้าชาหรือเป็นเหน็บ
- กลืนลำบาก
- ตามัวหรือเห็นภาพซ้อน
- ความบกพร่องทางการพูด ความลำบากในการเข้าใจและแสดงออกทางภาษา
- ปัญหาด้านกระเพาะปัสสาวะและลำไส้
ทราบอย่างไรว่าเป็น เนื้องอกในสมอง?
เบื้องต้นแพทย์จะทำการตรวจร่างกาย และทำการทดสอบทางประสาทวิทยาก่อน เช่น ตรวจการมองเห็น การได้ยิน การทรงตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและปฏิกิริยาตอบสนองทางร่างกาย
หากพบอาการป่วยที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยโรคหรือสาเหตุอย่างอื่น แพทย์อาจส่งตรวจหาเนื้องอกในสมองด้วยการสแกนสมอง ซึ่งเป็นการฉายภาพรังสีให้เห็นสมองและพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ภายใน เช่น การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) เครื่องตรวจวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือเครื่องถ่ายภาพรังสี PET scan หากตรวจพบว่ามีเนื้องอกในสมอง แพทย์อาจส่งตรวจอวัยวะอื่น ๆ ร่วมด้วย เพื่อหาตำแหน่งของเซลล์มะเร็งที่อาจแพร่ลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ ต่อไปได้
นอกจากนี้ อาจทำการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจวินิจฉัย (Biopsy) หาความผิดปกติของเนื้อเยื่อว่าเป็นเนื้องอกที่อยู่ในขั้นและระดับความรุนแรงใด เป็นเนื้อร้ายหรือไม่ เพื่อวางแผนการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป
วิธีรักษาเนื้องอกในสมอง
แพทย์จะรักษาให้เหมาะกับสภาพการณ์ของผู้ป่วยแต่ละราย หากสภาพของผู้ป่วยไม่ร้ายแรง โอกาสที่จะหายมีสูงและความเสี่ยงที่ต้องผ่าตัดมีต่ำ โดยวิธีการโรคเนื้องอกในสมอง มีดังนี้
- การผ่าตัด หากเนื้องอกในสมองอยู่ในบริเวณที่ง่ายต่อการผ่าตัด ไม่กระทบต่อเนื้อเยื่อหรือเส้นประสาทบริเวณใกล้เคียงจนเสี่ยงต่ออันตรายร้ายแรง แพทย์จะทำการผ่าตัดเพื่อนำเอาเนื้อเยื่อที่ผิดปกติออกไปจากจุดที่มีเนื้องอกในสมองให้ได้มากที่สุด โดยนวัตกรรมการผ่าตัดสมองมีดังนี้
- การผ่าตัดผ่านกล้องกำลังขยายสูง (Microscopic) เป็นกล้องผ่าตัดที่มีกำลังขยายสูง และมีลำแสงที่สามารถส่งลงไปในจุดที่ลึกๆ ได้ จึงให้รายละเอียดในการผ่าตัดที่สูงขึ้น ทำให้ศัลยแพทย์มองเห็นรายละเอียด เส้นประสาท และพยาธิสภาพที่ต้องการแก้ไขได้ชัดเจน มีความปลอดภัยมาก และลดอัตราการบาดเจ็บต่ออวัยวะสำคัญขนาดเล็กโดยรอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การผ่าตัดส่องกล้องแผลเล็ก (Endoscopic) กล้องที่มีลักษณะเป็นแท่ง สอดเข้าไปในบริเวณสมองที่ต้องการผ่าตัดมีความละเอียดสูงทำให้มองเห็นในจุดที่ลึกได้อย่างชัดเจน โดยเครื่องมือชนิดนี้จะเหมาะสำหรับการผ่าตัดบางอย่าง เช่น การผ่าตัดระบายน้ำคั่งในสมอง และการผ่าตัดเนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง
- รังสีรักษา ใช้รังสีพลังงานสูงฆ่าทำลายเนื้องอกในสมองที่เป็นเซลล์มะเร็งลดความเสียหายต่อเซลล์ปกติ เช่น วิธีการฉายรังสีแบบปรับความเข้ม (IMRT) วิธีการฉายรังสีแบบระบบนาวิถี (IRGT) และวิธีการฉายแบบหมุนรอบตัวผู้ป่วย (VMAT) วิธีเหล่านี้เพิ่มอัตราส่วนของกัมมันตรังสีเพื่อฆ่าเซลล์เนื้องอกและไม่ทาลายเนื้อเยื่อปกติ
- เคมีบำบัด (Chemotherapy) เป็นการใช้ยารักษาและฆ่าเซลล์เนื้องอก มีทั้งรูปแบบยารับประทานและยาฉีดเข้าเส้นเลือด โดยแพทย์จะจ่ายยาตามความเหมาะสม อาจใช้ยาร่วมกันหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับอาการ ลักษณะและความรุนแรงของเนื้องอก หากเป็นเนื้องอกที่เกิดจากเซลล์มะเร็งที่อวัยวะส่วนอื่น ต้องได้รับยารักษาตามแต่ชนิดของมะเร็งเป็นกรณีไป
ภาวะแทรกซ้อนของเนื้องอกในสมอง
สมองเป็นอวัยวะที่สำคัญ อาการแทรกซ้อนของเนื้องอกในสมอง อาจส่งผลร้ายแรงหรือความเสียหายถาวรที่นำไปสู่ความพิการทางร่างกาย โคม่า หรือแม้กระทั่งเสียชีวิต โดยมีอาการแทรกซ้อน ได้แก่
- ความสามารถทางสมองและความคิดที่อ่อนแอ, สูญเสียความทรงจำ
- ปัญหาในการทองเห็น การได้ยิน การดมกลิ่น หรือการพูดเรื่องจากประสาทได้รับความเสียหาย
- มีอาการชัก, แขนและขาอ่อนแรง, อัมพาตครึ่งล่าง
- ความผิดปกติทางฮอร์โมน, การรั่วของน้าหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง
- อาการชัก เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เกิดการติดเชื้อ
- ปัญหาด้านกระเพาะปัสสาวะและลาไส้
- โรคปอดอักเสบ
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nakornthon.com/article/detail/เนื้องอกในสมองภัยร้ายที่มาพร้อมอาการปวดหัวเรื้อรัง