- กระทู้ ผู้เขียน
- #1
เมื่อกระแสนิยมของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ รถยนต์ EV เริ่มเป็นที่พูดถึงกันมากขึ้นไปตามราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น (น้ำมันแพงเพราะอะไร? เปิดสาเหตุน้ำมันแพง 2565 https://www.smk.co.th/newsdetail/2876) จนอาจทำให้เกิดความกังวลว่า ในความจริงแล้ว รถยนต์พลังงานไฟฟ้า จะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้จริงหรือไม่ แล้วควรต้องชาร์จไฟอย่างไรให้คุ้มค่ากับเงินค่าไฟที่สุด (เตรียมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน รองรับรถยนต์ EV https://www.smk.co.th/newsdetail/1696)
ประเภทของการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
การชาร์จไฟฟ้า “รถยนต์ EV” มีหลายวิธี และมีราคาที่แตกต่างกันไป ดังนี้
1. การชาร์จแบบธรรมดา (Normal Charge)
เป็นการชาร์จไฟฟ้าจากตัวเต้ารับโดยตรง โดยขนาดมิเตอร์ขั้นต่ำที่แนะนำคือ 30(100)A และเต้ารับต้องติดตั้งใหม่เฉพาะการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเท่านั้น โดยเป็นการใช้ไฟบ้านที่เป็นกระแสสลับ (AC) ซึ่งความเร็วชาร์จไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ 7.4 kW ต่อ 1 ชม. ใช้ระยะเวลาในการชาร์จเต็มประมาณ 12-16 ชม. มีค่าชาร์จอยู่ที่ 4.2 บาท ต่อ 1 kWh
2. การชาร์จแบบรวดเร็ว (Double Speed Charge)
เป็นการชาร์จจากเครื่องชาร์จ EV Charger เป็นตู้ชาร์จไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Charging) ที่ช่วยให้ชาร์จพลังงานไฟฟ้าในแบตเตอรี่รถให้เต็มเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งความเร็วชาร์จไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ 22 kW ต่อ 1 ชม. โดยเหลือเวลาชาร์จประมาณ 6-8 ชม. มีค่าชาร์จอยู่ที่ 5.5 บาท ต่อ 1 kWh
3. การชาร์จแบบด่วน (Quick Charge)
เป็นการชาร์จไฟฟ้ากระแสตรง (DC Charging) เข้าแบตเตอรี่โดยตรง ซึ่งสามารถชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์พลังงานไฟฟ้า จาก 0-80% ได้ภายในเวลา 40-60 นาที ซึ่งความเร็วชาร์จไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ 50 kW ต่อ 1 ชม. มีค่าชาร์จอยู่ที่ 6.5 บาท ต่อ 1 kWh
เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายระหว่างรถยนต์เติมน้ำมันกับรถยนต์ EV
การคำนวณอัตราค่าพลังงานน้ำมัน มีรายละเอียดดังนี้
ชาร์จไฟรถยนต์ EV อย่างไรให้คุ้ม?
1. การชาร์จไฟที่บ้านจะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายค่าใช้จ่ายในการชาร์จได้มาก เนื่องจากสามารถชาร์จไฟในเวลากลางคืน ทำให้อัตราค่าไฟที่บ้านเป็นแบบ TOU ที่ช่วงกลางคืนมีราคาถูก (หลัง 4 ทุ่มถึง 9 โมงเช้า)
2. ชาร์จไฟตาม Charging Station ที่ให้บริการฟรีมีอยู่หลายที่ แต่อาจต้องเสียเวลานั่งรอครั้งละประมาณ 30 นาทีเป็นต้นไป
อุปกรณ์ติดตั้งระบบชาร์จรถไฟฟ้า EV ที่บ้าน
สำหรับผู้ที่ต้องการซื้อรถไฟฟ้า EV มาใช้งาน จำเป็นต้องเข้าใจระบบไฟฟ้าภายในบ้านก่อนติดตั้ง เพื่อความปลอดภัยและป้องกันปัญหาที่ตามมา โดยต้องคำนึงถึงอุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้
1. ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า
โดยปกติขนาดมิเตอร์ของบ้านพักอาศัยทั่วไปจะใช้เป็น 15(45) 1 เฟส(1P) หมายถึงมิเตอร์ ขนาด 15 แอมป์(A) และสามารถใช้ไฟได้มากถึง 45(A) สำหรับคนที่ต้องการชาร์จรถไฟฟ้าในบ้าน การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) แนะนำให้เปลี่ยนขนาดมิเตอร์เป็น 30(100) ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ป้องกันการใช้ไฟฟ้าที่มากเกินไป
2. สายเมน และลูกเซอร์กิต (MCB)
สำหรับสายเมนของเดิมใช้ขนาด 16 ตร.มม. ต้องปรับให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 25 ตร.มม. และเปลี่ยนลูกเซอร์กิต (MCB) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ป้องกันร่วมกับตู้ MDB ที่เดิมรองรับได้สูงสุด 45(A) เปลี่ยนเป็น 100(A) เพื่อให้ขนาดมิเตอร์ ขนาดสายเมน และขนาดลูกเซอร์กิต (MCB) มีความสอดคล้องกัน
3. ตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB)
ตรวจสอบภายในตู้ว่ามีช่องว่างสำรองเพื่อติดตั้ง Circuit Breaker อีก 1 ช่องหรือไม่ เพราะการชาร์จไฟของรถไฟฟ้า EV จะต้องมีส่วนตัว และแยกใช้งานกับเครื่องไฟฟ้าอื่น ๆ หรือถ้าหากภายในตู้หลักไม่มีช่องว่าง ต้องเพิ่มตู้ควบคุมย่อยอีก 1 จุด
4. เครื่องตัดไฟรั่ว (RCD)
เครื่องตัดไฟฟ้าอัตโนมัติที่จะตัดวงจรไฟฟ้า เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าออกมีค่าไม่เท่ากัน ซึ่งอาจจะส่งผลให้ไฟฟ้าลัดวงจร และเกิดเพลิงไหม้ได้ในอนาคต กรณีที่สายชาร์จไฟฟ้ามีระบบตัดไฟภายในตัวอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องติดตั้งเพิ่ม
5. เต้ารับ (EV Socket)
สำหรับการเสียบชาร์จรถไฟฟ้าจะเป็นชนิด 3 รู (มีสายต่อหลักดิน) ต้องทนกระแสไฟฟ้าได้ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 16(A) โดยรูปทรงอาจจะปรับตามรูปแบบปลั๊กของรถไฟฟ้า EV แต่ละรุ่น
ก่อนที่ตัดสินใจซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้า จำเป็นจะต้องศึกษารายละเอียดของตัวรถยนต์ด้วย ว่าแบตเตอรี่ของรถยนต์ขนาดเท่าไร? On Board รับพลังงานไฟฟ้าได้สูงสุดเท่าไหร่? ซึ่งมีผลกับความเร็วในการชาร์จ และค่าไฟบ้าน นอกจากนี้ ค่าไฟฟ้าของแต่ละจังหวัดก็ยังมีอัตราไม่เท่ากัน จึงควรตรวจสอบกับการไฟฟ้าในพื้นที่อีกครั้งเพื่อทำความเข้าใจเพิ่มเติมด้วย
ประกันภัยรถยนต์คนกรุง ประกันรถยนต์ชั้น 1 เบี้ยเริ่มต้น 11,600 บาท เบี้ยไม่ยอมเปลี่ยนแปลง อัตราเบี้ยคงที่เท่ากันทุกปี คุ้มครองครอบคลุมทุกกรณี ไม่ว่าจะรถชนรถ รถชนของ รถคันอื่นมาชน เกิดอุบัติเหตุนอกเมือง สูญหายไฟไหม้ น้ำท่วม พร้อมบริการช่วยเหลือฉุกเฉินทางรถยนต์ (Roadside Assistance Service) สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/productmotordetail/19 หรือ https://smkinsurance.blogspot.com/ โทร.1596 Line : @smkinsurance
ประเภทของการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
การชาร์จไฟฟ้า “รถยนต์ EV” มีหลายวิธี และมีราคาที่แตกต่างกันไป ดังนี้
1. การชาร์จแบบธรรมดา (Normal Charge)
เป็นการชาร์จไฟฟ้าจากตัวเต้ารับโดยตรง โดยขนาดมิเตอร์ขั้นต่ำที่แนะนำคือ 30(100)A และเต้ารับต้องติดตั้งใหม่เฉพาะการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเท่านั้น โดยเป็นการใช้ไฟบ้านที่เป็นกระแสสลับ (AC) ซึ่งความเร็วชาร์จไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ 7.4 kW ต่อ 1 ชม. ใช้ระยะเวลาในการชาร์จเต็มประมาณ 12-16 ชม. มีค่าชาร์จอยู่ที่ 4.2 บาท ต่อ 1 kWh
2. การชาร์จแบบรวดเร็ว (Double Speed Charge)
เป็นการชาร์จจากเครื่องชาร์จ EV Charger เป็นตู้ชาร์จไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Charging) ที่ช่วยให้ชาร์จพลังงานไฟฟ้าในแบตเตอรี่รถให้เต็มเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งความเร็วชาร์จไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ 22 kW ต่อ 1 ชม. โดยเหลือเวลาชาร์จประมาณ 6-8 ชม. มีค่าชาร์จอยู่ที่ 5.5 บาท ต่อ 1 kWh
3. การชาร์จแบบด่วน (Quick Charge)
เป็นการชาร์จไฟฟ้ากระแสตรง (DC Charging) เข้าแบตเตอรี่โดยตรง ซึ่งสามารถชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์พลังงานไฟฟ้า จาก 0-80% ได้ภายในเวลา 40-60 นาที ซึ่งความเร็วชาร์จไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ 50 kW ต่อ 1 ชม. มีค่าชาร์จอยู่ที่ 6.5 บาท ต่อ 1 kWh
เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายระหว่างรถยนต์เติมน้ำมันกับรถยนต์ EV
การคำนวณอัตราค่าพลังงานน้ำมัน มีรายละเอียดดังนี้
- ราคาน้ำมันอัตราเฉลี่ยปัจจุบันอยู่ที่ 40 บาท/ลิตร
- รถยนต์กินน้ำมันเฉลี่ยในปริมาณ 16 km/ลิตร
- ทุก 1 กิโลเมตร จึงเสียค่าน้ำมัน 2.5 บาท
- หากโดยทั่วไปใช้รถยนต์เดือนละ 2,000 km
- จะเสียค่าน้ำมันตกเดือนละ 5,000 บาท
- ค่าไฟบ้านปกติหน่วยละ 4.5888 บาท รวมค่า FT
- เปลี่ยนมาใช้ EV แล้วชาร์จไฟที่บ้านในอัตรา TOU ของไฟฟ้านครหลวง หลัง 4 ทุ่มจะเหลือหน่วยละ 2.804 บาท รวมค่า FT
- รถยนต์ EV โดยเฉลี่ยกินไฟประมาณ 5 km/หน่วยไฟฟ้า
- ให้วิ่งในอัตราเดียวกันเดือนละ 2,000 km ทุก 1 km จึงเสียค่าไฟ 0.5608 บาท
- จะเสียค่าไฟในอัตราเดือนละ 1,121 บาท
ชาร์จไฟรถยนต์ EV อย่างไรให้คุ้ม?
1. การชาร์จไฟที่บ้านจะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายค่าใช้จ่ายในการชาร์จได้มาก เนื่องจากสามารถชาร์จไฟในเวลากลางคืน ทำให้อัตราค่าไฟที่บ้านเป็นแบบ TOU ที่ช่วงกลางคืนมีราคาถูก (หลัง 4 ทุ่มถึง 9 โมงเช้า)
2. ชาร์จไฟตาม Charging Station ที่ให้บริการฟรีมีอยู่หลายที่ แต่อาจต้องเสียเวลานั่งรอครั้งละประมาณ 30 นาทีเป็นต้นไป
อุปกรณ์ติดตั้งระบบชาร์จรถไฟฟ้า EV ที่บ้าน
สำหรับผู้ที่ต้องการซื้อรถไฟฟ้า EV มาใช้งาน จำเป็นต้องเข้าใจระบบไฟฟ้าภายในบ้านก่อนติดตั้ง เพื่อความปลอดภัยและป้องกันปัญหาที่ตามมา โดยต้องคำนึงถึงอุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้
1. ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า
โดยปกติขนาดมิเตอร์ของบ้านพักอาศัยทั่วไปจะใช้เป็น 15(45) 1 เฟส(1P) หมายถึงมิเตอร์ ขนาด 15 แอมป์(A) และสามารถใช้ไฟได้มากถึง 45(A) สำหรับคนที่ต้องการชาร์จรถไฟฟ้าในบ้าน การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) แนะนำให้เปลี่ยนขนาดมิเตอร์เป็น 30(100) ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ป้องกันการใช้ไฟฟ้าที่มากเกินไป
2. สายเมน และลูกเซอร์กิต (MCB)
สำหรับสายเมนของเดิมใช้ขนาด 16 ตร.มม. ต้องปรับให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 25 ตร.มม. และเปลี่ยนลูกเซอร์กิต (MCB) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ป้องกันร่วมกับตู้ MDB ที่เดิมรองรับได้สูงสุด 45(A) เปลี่ยนเป็น 100(A) เพื่อให้ขนาดมิเตอร์ ขนาดสายเมน และขนาดลูกเซอร์กิต (MCB) มีความสอดคล้องกัน
3. ตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB)
ตรวจสอบภายในตู้ว่ามีช่องว่างสำรองเพื่อติดตั้ง Circuit Breaker อีก 1 ช่องหรือไม่ เพราะการชาร์จไฟของรถไฟฟ้า EV จะต้องมีส่วนตัว และแยกใช้งานกับเครื่องไฟฟ้าอื่น ๆ หรือถ้าหากภายในตู้หลักไม่มีช่องว่าง ต้องเพิ่มตู้ควบคุมย่อยอีก 1 จุด
4. เครื่องตัดไฟรั่ว (RCD)
เครื่องตัดไฟฟ้าอัตโนมัติที่จะตัดวงจรไฟฟ้า เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าออกมีค่าไม่เท่ากัน ซึ่งอาจจะส่งผลให้ไฟฟ้าลัดวงจร และเกิดเพลิงไหม้ได้ในอนาคต กรณีที่สายชาร์จไฟฟ้ามีระบบตัดไฟภายในตัวอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องติดตั้งเพิ่ม
5. เต้ารับ (EV Socket)
สำหรับการเสียบชาร์จรถไฟฟ้าจะเป็นชนิด 3 รู (มีสายต่อหลักดิน) ต้องทนกระแสไฟฟ้าได้ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 16(A) โดยรูปทรงอาจจะปรับตามรูปแบบปลั๊กของรถไฟฟ้า EV แต่ละรุ่น
ก่อนที่ตัดสินใจซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้า จำเป็นจะต้องศึกษารายละเอียดของตัวรถยนต์ด้วย ว่าแบตเตอรี่ของรถยนต์ขนาดเท่าไร? On Board รับพลังงานไฟฟ้าได้สูงสุดเท่าไหร่? ซึ่งมีผลกับความเร็วในการชาร์จ และค่าไฟบ้าน นอกจากนี้ ค่าไฟฟ้าของแต่ละจังหวัดก็ยังมีอัตราไม่เท่ากัน จึงควรตรวจสอบกับการไฟฟ้าในพื้นที่อีกครั้งเพื่อทำความเข้าใจเพิ่มเติมด้วย
ประกันภัยรถยนต์คนกรุง ประกันรถยนต์ชั้น 1 เบี้ยเริ่มต้น 11,600 บาท เบี้ยไม่ยอมเปลี่ยนแปลง อัตราเบี้ยคงที่เท่ากันทุกปี คุ้มครองครอบคลุมทุกกรณี ไม่ว่าจะรถชนรถ รถชนของ รถคันอื่นมาชน เกิดอุบัติเหตุนอกเมือง สูญหายไฟไหม้ น้ำท่วม พร้อมบริการช่วยเหลือฉุกเฉินทางรถยนต์ (Roadside Assistance Service) สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/productmotordetail/19 หรือ https://smkinsurance.blogspot.com/ โทร.1596 Line : @smkinsurance