รถยนต์ไฟฟ้ามีกี่ประเภท? ประเภทรถไฟฟ้าแบบไหนที่เหมาะ?

  • ผู้เริ่มหัวข้อ ผู้เริ่มหัวข้อ tawann8
  • วันที่เริ่มต้น วันที่เริ่มต้น

กรุณาปิด โปรแกรมบล๊อกโฆษณา เพราะเราอยู่ได้ด้วยโฆษณาที่ท่านเห็น
Please close the adblock program. Because we can live with the ads you see

tawann8

Member
Register
เข้าร่วม
15 ธ.ค. 2020
ข้อความ
54
  • กระทู้ ผู้เขียน
  • #1

เริ่มเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นกับมาตรการลดหย่อนภาษีรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย จาก มติ ครม. เมื่อวันที่ 15 ก.พ.ที่ผ่านมา เพื่อส่งเสริมการใช้และการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ (ไขข้อสงสัย! อยากซื้อรถยนต์ไฟฟ้า ต้องเตรียมตัวเสียภาษีเท่าไร https://www.bangkokbiznews.com/business/989298) แต่หลายคนอาจสงสัย ว่าทำไมรถยนต์ไฟฟ้ามีหลากหลายชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป แล้วแต่ละประเภทมีคุณสมบัติอย่างไร

รถยนต์ไฟฟ้า คืออะไร?

รถยนต์ไฟฟ้า คือ รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า โดยใช้พลังงานไฟฟ้าที่เก็บอยู่ในแบตเตอรี่หรืออุปกรณ์เก็บพลังงานไฟฟ้ารูปแบบอื่นๆ เป็นนวัตกรรมที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว 100% ในการขับเคลื่อนแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล และสามารถชาร์จไฟได้อย่างสม่ำเสมอเมื่อแบตเตอรี่หมด โดยรถยนต์ไฟฟ้านี้จะมีองค์ประกอบหลักสำหรับการขับเคลื่อนคือ แบตเตอรี่ อุปกรณ์แปลงกระแสไฟฟ้า และมอเตอร์ไฟฟ้า

ขั้นตอนการทำงานของรถยนต์ไฟฟ้า จะมีจุดเริ่มต้นจากแบตเตอรี่ที่เป็นแหล่งเก็บพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง ส่งต่อกระแสไฟมายังตัวแปลงกระแสไฟฟ้า และจะดึงพลังงานจากแบตเตอรี่ไปเปลี่ยนเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ ส่งต่อไปยังตัวมอเตอร์เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนรถยนต์

ข้อดีของรถยนต์ไฟฟ้า

• ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น ทั้งค่าซ่อมบำรุง และค่าพลังงานที่ไฟฟ้าจะมีราคาน้อยกว่าพลังงานเชื้อเพลิง

• สามารถตอบสนองต่อการขับขี่ให้มีอัตราเร่งได้ดั่งใจเพราะมอเตอร์ไฟฟ้าสั่งการให้เกิดการขับเคลื่อนได้ทันที มีอัตราเร่งที่เรียบและรวดเร็ว

• ไม่มีการปล่อยไอเสียจึงไม่สร้างมลภาวะให้แก่โลกและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ประเภทของรถยนต์ไฟฟ้า

ยานยนต์ไฟฟ้าแบ่งออกเป็น 4 ประเภทด้วยกันคือ

1. ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทไฮบริด หรือ HEV (Hybrid electric vehicle)

รถยนต์ไฮบริด เป็นยานยนต์ไฟฟ้าแบบลูกผสม (Hybrid) มีทั้งเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงทั่วไปและมอเตอร์ไฟฟ้าพร้อมแบตเตอรี่ทำงานร่วมกัน จึงมีความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงต่ำกว่ายานยนต์ปกติ รวมทั้งยังสามารถนำพลังงานที่เหลือหรือไม่ใช้ประโยชน์เปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่ได้ แต่ไม่มีช่องเสียบปลั๊กเพื่อชาร์จไฟฟ้า

รูปแบบการทำงานของรถยนต์ไฮบริด (HEV) นั้น รถยนต์หยุดเคลื่อนที่หรือมีการแตะเบรก จะมีมอเตอร์ไฟฟ้าทำหน้าที่เป็น Generator เปลี่ยนพลังงานจลน์ส่งพลังงานไฟฟ้ากลับคืนเข้าไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่ โดยเรียกกระบวนการนี้ว่า Regenerative Braking ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าประเภทนี้มีอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันที่ต่ำกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันเพียงอย่างเดียวค่อนข้างมาก โดยมีตัวอย่าง รถยนต์ Hybrid ที่มีการวางจำหน่ายในประเทศไทย ดังนี้

• Toyota Camry Hybrid, Toyota C-HR Hybrid, Toyota Alphard Hybrid, Toyota CHR Hybrid Toyota Prius, Toyota Altis Hybrid

• Honda Accord Hybrid, Honda HRV e: HEV

• Nissan X-Trail Hybrid



2. ยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน (PHEV, Plug-in Hybrid Electric Vehicle)

รถยนต์ประเภทปลั๊กอินไฮบริด หรือ PHEV มีความคล้ายคลึงกับรถยนต์ไฮบริด (Hybrid, HEV) แต่จะแตกต่างกันตรงที่รถยนต์ประเภทนี้ สามารถชาร์จไฟฟ้าจากภายนอกได้ ซึ่งก็อาจจะใช้เป็น EV Charger หรือ สายชาร์จที่แถมมากับตัวรถก็ได้ ในการใช้งาน จึงทำให้รถยนต์ประเภทนี้สามารถที่จะขับเคลื่อนด้วยระบบมอเตอร์ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวได้โดยไม่ต้องใช้น้ำมันแต่จะสามารถใช้ระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวได้ในระยะทางสั้นๆ ในด้านสมรรถนะในการขับขี่ มอเตอร์ไฟฟ้าจะช่วยทำให้รถประเภทนี้นั้นออกตัวได้เร็วกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมัน ด้วยการอัดประจุไฟฟ้าจากภายนอกและนำมาเก็บไว้ที่แบตเตอรี่ ทำให้ PHEV สามารถวิ่งได้ในระยะทางที่ไกลกว่า HEV โดยมีตัวอย่าง รุ่นรถยนต์ Plug-in Hybrid ที่มีการวางจำหน่ายในประเทศไทย ได้แก่

• Mercedes plug-in hybrid

• BMW plug-in hybrid

• Audi plug-in hybrid



3. ยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV, Battery Electric Vehicle)

รถยนต์ไฟฟ้าที่ไม่มีการปล่อยไอเสียออกมาเลย เนื่องจากเป็นรถที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า และใช้พลังงานแบตเตอรี่ไฟฟ้า ซึ่งมาจากการเสียบปลั๊กชาร์จไฟฟ้าอย่างเดียว ไม่มีการปล่อยมลพิษทางอากาศจากยานยนต์โดยตรง ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในการขับเคลื่อนเพียงอย่างเดียว จึงส่งผลให้รถประเภทนี้จำเป็นต้องมีแบตเตอรี่ที่มีขนาดใหญ่มากกว่ารถประเภทอื่นๆ โดยมีตัวอย่าง รุ่นรถยนต์ Battery Electric Vehicle ที่มีการวางจำหน่ายในประเทศไทยได้แก่



• Tesla

• Nissan Leaf

• MG ZS EV

• Hyundai IONIQ EV,

• BMW i3, Kia Soul EV, BYD E6, Audi e-tron



4. ยานยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (FCEV, Fuel Cell Electric Vehicle)

รถยนต์ไฟฟ้าที่มีเซลล์เชื้อเพลิงเป็นยานยนต์ไฟฟ้าที่ได้พลังงานมาจากเซลล์เชื้อเพลิง (fuel cell) โดยเติมเชื้อเพลิงไฮโดรเจนจากภายนอก โดยก๊าซไฮโดรเจนจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศที่เซลล์เชื้อเพลิง ทำให้ได้พลังงานส่งไปยังมอเตอร์ไฟฟ้าเพื่อใช้ในการขับเคลื่อน โดยรถประเภทนี้จะต้องมีการเติมพลังงานไฮโดรเจน ที่สถานีให้บริการ มีความจุพลังงานจำเพาะที่สูงกว่าแบตเตอรี่ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เชื่อว่าเป็นคำตอบที่แท้จริงของพลังงานสะอาดในอนาคต แต่อย่างไรก็ตามยังมีข้อจำกัดอย่างสถานีเชื้อเพลิงไฮโดรเจน (Hydrogen Fuel Station) มีน้อยมาก เหมือนที่รถ BEV มี Charging Station น้อยเมื่อเทียบกับหลายปีก่อน (สำรวจสถานีชาร์จรถไฟฟ้า แหล่งพลังงานแห่งใหม่ของคนกรุง https://www.smk.co.th/newsdetail/1541)

ถึงแม้ EV ทั้ง 4 ประเภทจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน แต่ทุกประเภทล้วนมีเป้าหมายเดียวกัน คือ ลดการใช้เชื้อเพลิงประเภทฟอสซิล และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดภาวะโลกร้อน คุ้มครองรถคุณให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น ด้วยประกันรถยนต์ตามโปรไฟล์ "การันตีถูกจริง" ประกันรถยนต์ชั้น 1 ..โปรไฟล์ยิ่งดี ความเสี่ยงยิ่งต่ำ เบี้ยยิ่งถูก.. โปรไฟล์คุณอาจดีกว่าที่คุณคิด เบี้ยเริ่มต้น 6,999 บาท และยังถูกลงได้อีก หากเลือกแบบมีดีดัก และระบุชื่อผู้ขับขี่ (ลดสูงสุดเหลือเพียง 3,999 บาท) สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/productmotordetail/20 หรือ โทร.1596 Line : @smkinsurance
 


กระทู้ที่คล้ายกัน




DigitalOcean Referral Badge

กรุณาปิด โปรแกรมบล๊อกโฆษณา เพราะเราอยู่ได้ด้วยโฆษณาที่ท่านเห็น
Please close the adblock program. Because we can live with the ads you see
กลับ
ยอดนิยม